เมนู

อธิบายบทว่า วุสิตวา เป็นต้น



บทว่า วุสิตวา ได้แก่ มีการอยู่จบแล้ว. บทว่า กตกรณีโย
ได้แก่ ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค 4 อยู่. บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่
ปลงขันธภาระ กิเลสภาระและอภิสังขารภาระอยู่. บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ
ความว่า อรหัตผลเรียกว่า ประโยชน์ของตน บรรลุประโยชน์ของตนนั้น.
บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน ความว่า ชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ใน
ภพหมดสิ้นแล้ว เพราะสังโยชน์ที่เป็นเหตุให้ผูกสัตว์ แล้วฉุดคร่าไปในภพ
ทั้งหลายสิ้นแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺญาวิมุตฺโต ความว่า หลุดพ้นเพราะรู้
โดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ.
บทว่า กลฺลํ วจนาย แปลว่า ควรเพื่อจะกล่าว. บทว่า โยปสฺส
มาทิโส นโร
ความว่า แม้บุคคลใดจะพึงเป็นพระขีณาสพเช่นกับเรา บุคคล
แม้นั้นพึงเข้าจำอุโบสถเห็นปานนี้ คือ เมื่อรู้คุณของอุโบสถกรรมพึงอยู่อย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็น
เช่นกับเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. ในบทนี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของพระขีณาสพ ด้วยอุโบสถกรรม
เห็นปานนี้.
จบอรรถกถาราชสูตรที่ 7